“น้ำท่วม” แต่ต้องลุย … แล้วจะลุยยังไงให้รถไม่ “พัง”

น้ำท่วม

เรียกได้ว่าช่วงนี้ประเทศไทยเต็มไปด้วยความ “ชุ่มฉ่ำ” จากฤดูฝน ที่บางครั้งตกเบาๆ ก็พอเย็นสบาย แต่พักหลังๆ ตกแบบเอาเป็น เอาตาย จนทำให้ถนนหลายสายรถติดชนิดที่เกือบเป็นอัมพาต ด้วยสาเหตุที่มาจากน้ำท่วมขัง ซึ่งเอาซะจนบางพื้นที่กลายเป็นทะเลสาบย่อมๆ น่าเห็นใจผู้คนที่ต้องเดินทางสัญจรบนถนนย่านนั้น หรือย่านไหนๆ ก็ตามที่ฝนตกน้ำท่วม 

เพราะยังไงซะก็ต้องจำใจขับรถ “ลุยน้ำ” ออกไปใช้ชีวิตประจำวัน กันแทบจะวันเว้นวัน ซึ่งแน่นอนว่า “รถ” ของเรา คือ ของรักของหวงสำหรับหลายคน และก็คงไม่ชอบใจนัก หากฝนตก และต้องขับรถออกมา “ลุยน้ำท่วม” … เพราะฉะนั้นถ้า “เลี่ยงไม่ได้” จริงๆ ก็ลองเอาวิธีนี้ไปใช้ เพื่อจะได้ทำร้ายรถสุดรักน้อยที่สุด

น้ำท่วม

ประเมินสถานการณ์ให้ชัวร์

เริ่มต้นง่ายๆ ด้วยการประเมินระดับ “ความลึก” ของจุดที่น้ำท่วม เทียบกับความสูงของรถตัวเอง ซึ่งคุณสามารถสังเกตได้จากเพื่อนร่วมท้องถนน ไม่ว่าจะเป็นคันข้างหน้า หรือคันที่สวนมาก็ตาม แต่เราแนะนำว่า ถ้าไม่จำเป็นจริงๆ “รอ” ได้ก็รอ … “เลี่ยง” ได้ก็เลี่ยงจะดีกว่า เพราะรถยุคใหม่ที่มากับระบบอิเล็กทรอนิกส์เต็มลำ คงไม่ชอบการโดนน้ำซักเท่าไหร่ แต่ถ้าไม่ไหวจริงๆ เลี่ยงไม่ได้ หรือดูแล้วสามารถขับผ่านได้ก็ “จัด” ไป

น้ำท่วม

ลุยเมื่อไหร่ … เลิกใช้แอร์ทันที

และเมื่อเริ่ม “จุ่ม” น้ำเมื่อไหร่ ให้จำไว้ว่าสิ่งแรกที่ต้องทำ คือ ปิดระบบปรับอากาศทันทีถ้าไม่อยากเครื่องดับจนรถจอดแช่ แน่นิ่งในน้ำ เนื่องจากการเปิดระบบปรับอากาศจะทำงานพัดลมแอร์ทำงาน ซึ่งอาจพัดเอาน้ำที่ท่วมเข้ามาสู่เครื่องยนต์โดยไม่รู้ตัว และทำให้เครื่องดับลงได้

ลดความเร็ว เคลื่อนตัวช้า และสม่ำเสมอ

แน่นอนครับว่าเมื่อเจอจุดที่มีน้ำท่วมขัง ความเร็วที่จึงจำเป็นต้อง “ลดลง” และ “ใจเย็น” ค่อยๆ ขับไปช้าๆ อย่าเร่งเครื่องยนต์เด็ดขาด เพื่อที่จะไม่เพิ่มอุณหภูมิให้กับเครื่องยนต์ เพราะเมื่อไหร่ก็ตามที่เร่งเครื่องจนทำให้อุณหภูมิสูง เมื่อนั้นระบบระบายความร้อนจะทำงาน โดยการสั่งพัดลมให้หมุน และสุดท้ายก็ดีดน้ำเข้าห้องเครื่อง จนอาจทำให้เครื่องดับได้อีกเช่นกัน

และนอกจากจากไม่เพิ่มความร้อนให้กับเครื่องยนต์แล้ว การเคลื่อนตัวอย่างช้าๆ ยังช่วยลดความเสี่ยงในการสร้างความเสียหายให้กับตัวรถในการปะทะกับแรงดันน้ำ ดังเช่นเห็นได้จากหลายๆ คนที่ลุยน้ำด้วยความเร็วจน กันชนหลุดบ้าง ซี่กระจังแตกบ้าง ไปจนถึงป้ายทะเบียนหลุดหายไปในน้ำก็ยังมี รวมไปถึงลดการก่อคลื่น ที่อาจจะซัดเข้าไปในห้องเครื่องได้อีกด้วยเช่นกัน

น้ำท่วม

ย้ำหนักๆ หลังจากลุยเสร็จ

หลังจากพ้นวิกฤตน้ำท่วมเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งจำเป็นที่ต้องทำก็คือ การที่จอดอย่างปลอดภัย และห้ามดับเครื่องยนต์ เพราะอาจมีน้ำอยู่ในหม้อพัก หรือห้องเครื่อง ฉะนั้นจึงควรสตาร์ทเครื่องทิ้งไว้ เพื่อให้ความร้อนระเหยน้ำออกไปก่อน จากนั้นก็พยายามเหยียบเบรกย้ำๆ เพื่อ “ไล่น้ำ” ออกจากระบบ เพื่อให้เบรกกลับมาทำงานได้อย่างปกติ ส่วนผู้ที่ชอบออกกำลังกายขาซ้ายด้วยรถเกียร์ธรรมดา ก็จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้อง “ย้ำ” ทั้งในส่วนของ “คลัทช์” และ “เบรก” เพื่อไล่น้ำ เช่นกัน

น้ำท่วม


ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |