ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศลงทุน 1.5 หมื่นล้านบาท
ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศแผนการลงทุนมูลค่า 15,000 ล้านบาท (หรือ 450 ล้านเหรียญสหรัฐฯ) ในการสร้างโรงงานผลิต รถยนต์นั่งส่วนบุคคลแห่งใหม่ที่พร้อมไปด้วยเทคโนโลยีชั้นยอด ในจังหวัดระยอง ประเทศไทย โดยมีกำหนดก่อสร้างแล้วเสร็จในปี 2555
โรงงานแห่ง นี้จะเริ่มผลิตรถยนต์ฟอร์ด โฟกัส รุ่นใหม่ ในปี 2555 เพื่อป้อนตลาดในประเทศไทยรวม ถึงการส่งไปจำหน่ายยังตลาดอื่น ๆ ในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก นอกจากนี้
ด้วยการ เป็นโรงงานที่มีความยืดหยุ่นสูง ทำให้ฟอร์ดมีศักยภาพในการผลิตรถยนต์ ได้หลากหลายรุ่นในอนาคต
“การประกาศลง ทุนเพื่อสร้างโรงงานแห่งใหม่ในวันนี้ ถือเป็นอีกหนึ่งก้าวย่างสำคัญใน การขยายการดำเนินธุรกิจเชิงรุกของเราอย่างต่อเนื่องในเอเชีย แปซิฟิก เพื่อตอบสนองต่อความต้องการสินค้าคุณภาพระดับโลกของฟอร์ดในภูมิ ภาคที่มีการเติบโตอย่างรวดเร็วแห่งนี้” มร. อลัน มูลัลลี ประธานและ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์
คัมปะนี กล่าว
“เรามีความมุ่งมั่นในระดับโลกที่จะผลิตรถยนต์ ภายใต้แบรนด์ฟอร์ด ให้มีความหลากหลายและครอบคลุมความต้องการของผู้ บริโภคทุกกลุ่ม โดยรถยนต์ของเราจะต้องเป็นเลิศ
ทั้งในด้านคุณภาพ การประหยัดน้ำมัน ความปลอดภัย และเทคโนโลยีล้ำสมัย ซึ่งล้วนเป็นสิ่งที่ลูกค้าของเราให้ความสำคัญและ ต้องการ”
สำหรับโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่จะมีกำลังการผลิตเบื้องต้น อยู่ที่ 150,000 คันต่อปี โดยจะใช้ระบบการผลิตระบบอัตโนมัติอันทันสมัย และปฏิบัติงานภายใต้ระบบ และกระบวนการผลิตรถยนต์ระดับโลกของฟอร์ด โดยการผลิตรถยนต์ส่วนใหญ่จะเป็นการผลิตเพื่อการส่งออกสูงสุดถึงร้อย ละ 85
“การลงทุนในครั้งนี้เป็นการยืนยันถึงพันธสัญญา ในระยะยาวของเราที่มีต่อประเทศไทย และบทบาทที่สำคัญ ในฐานะศูนย์กลางการผลิต และการส่งออกระดับโลกของ
ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี” มร. โจ ฮินริคส์ ประธานฟอร์ด ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิกและแอฟริกา กล่าว “การตัดสินใจ สร้างโรงงานผลิตแห่งใหม่ของฟอร์ดในครั้งนี้ เป็นผลมาจากความพร้อมของอุตสา หกรรมยานยนต์ของประเทศไทย ระบบโลจิสติกส์ และโครงสร้างพื้นฐานด้านการส่งอ อกที่มีมาตรฐานในระดับโลก”
ทั้งนี้ รถยนต์ฟอร์ด โฟกัสรุ่นใหม่ จะถูกผลิตโดยใช้โครงสร้างตัวถังใหม่ของรถยนต์ขนาดกลาง หรือ “ซี-คาร์” ของฟอร์ด ซึ่งคาดว่าจะมียอดขายรวมทั่วโลกมากกว่าปีละสองล้านคัน โดยปัจจุบันตลาดรถยนต์นั่งขนาดกลางถือเป็นตลาดที่มีขนาดใหญ่ที่ สุดในโลก และคาดกันว่าภายในปี 2556 จะมีสัดส่วน ราวร้อยละ 28 ของยอดขายรถยนต์นั่ง
โดยรวมทั้งหมด
โรงงานประกอบรถยนต์แห่งใหม่ขนาด 750,000 ตารางเมตร จะเป็นโรงงานแบบครบวงจร เพื่อการประกอบตัวถัง การพ่นสี การเก็บรายละเอียดและ การประกอบรถยนต์ขั้นสุดท้าย โดยใช้กระบวนการผลิตตามรูปแบบระดับ โลกซึ่งเป็นแนวคิดเพื่อความยั่งยืน ตลอดจนกระบวนการ และระบบการผลิตที่มีความรับผิดชอบ และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
“สำหรับฟอร์ดแล้ว การดำเนินงานเพื่อความยั่งยืนด้านสิ่ง แวดล้อมนั้น เป็นมากกว่าความมุ่งมั่นของเราในการเป็นผู้นำด้านการ ประหยัดพลังงาน โดยเราประสบความสำเร็จอย่างสูงในการประยุกต์ใช้เทคนิค ด้านการใช้พลังงานต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ ในโรงงานผลิต และสำนักงานของเราทั่วโลก” ซู ซิซกี รองประธานกลุ่มด้านความยั่งยืน สิ่งแวดล้อม และวิศวกรรมความปลอดภัย ของฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี กล่าว
“โรงงานแห่งใหม่ในประเทศไทยนี้จะปฏิบัติตามนโยบายของ ฟอร์ดทั่วโลกอย่างเคร่งครัด ซึ่งการปฏิบัติการ ผลิตภัณฑ์ และบริการของเรา บรรลุการทำหน้าที่ในการปกป้องสุขภาพและสิ่งแวดล้อม” ซิซกี กล่าว
ด้านโรงพ่นสีของโรงงานแห่งใหม่นี้ จะใช้กระบวนการพ่นสีแบบ 3-Wet technology ที่พ่นสีซ้อนทับกัน 3 ชั้น แล้วจึงอบสีแห้งเพียงครั้งเดียว โดยถือเป็นวิธีที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพ ของการพ่นสี ความละเอียด และความทนทานของสี ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีคุณภาพระดับ โลกและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งยังช่วยลดปริมาณการปล่อยสาร อินทรีย์ไอระเหย และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งของเสียต่างๆ จากการผลิตลงได้อย่างมาก นอกจากนั้น ยังมีโรงบำบัดน้ำเสียอยู่ภายในโรง งาน และระบบควบคุมแสงสว่างที่ประหยัดพลังงาน โดยใช้แสงธรรมชาติ ระบบระบายอากาศด้วยลมธรรมชาติ รวมทั้งใช้วัตถุดิบที่ผลิตในประเทศไทย และสามารถนำกลับมาใช้อีกได้
ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจต่อประเทศไทย
ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี มีแผนจัดซื้อชิ้นส่วนรถยนต์ที่ผลิตใน ประเทศ ซึ่งมูลค่าสูงสุดถึงปี 800 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (26,000 ล้านบาท) จากเครือ ข่ายผู้ผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทย
“ด้วยความมุ่งมั่นที่จะสร้างความเติบโตอย่าง ต่อเนื่องให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ระดับโลกของประเทศไทยทำให้ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี สามารถนำปัจจัยต่างๆ ที่มีมาต่อยอดให้ธุรกิจให้ก้าวหน้า ยิ่งขึ้นต่อไปได้อีก โดยใช้แรงงานที่มีความชำนาญในประเทศ และความเชี่ยวชาญด้านการตลาด ตลอดจนรากฐานการดำเนินธุรกิจเชิงกลยุทธ์ ซึ่งเราได้วางรากฐานในประเทศไทย” มร. ฮินริคส์ กล่าวเสริม
พร้อมกันนี้ ฟอร์ดยังเปิดเผยว่าโรงงานผลิตรถยนต์แห่งใหม่นี้ จะสามารถจ้างงานใหม่ได้สูงสุดถึง 11,000 ตำแหน่ง โดยจะเป็นตำแหน่งงานที่ ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี จ้างโดยตรงสูงสุดถึง 2,200 ตำแหน่ง และเป็นการจ้างงานผ่านทางเครือข่ายซัพพลายเออร์ และดีลเลอร์อีกถึง 8,800 ตำแหน่ง เมื่อโรงงานมีกำลังการผลิตสูงถึง 150,000 คันต่อปี