มูลนิธิโตโยต้าฯ ส่งเสริมการศึกษาประวัติศาสตร์

มูลนิธิโตโยต้าฯ ส่งเสริมการศึกษาประวัติศาสตร์ จัดอบรม “อยุธยาศึกษา : เรื่องของสามนคร  ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์” ครั้งที่ 6
toyota
พล.ต.อ.เภา  สารสิน ประธานมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย พร้อมด้วย นายประมนต์  สุธีวงศ์ ดร.ชาญวิทย์  เกษตรศิริ นายสุทธิ   จันทร์วิเมลือง และนายอานนท์  เจริญรุ่งเรือง กรรมการมูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ร่วมเปิดการอบรม  “อยุธยาศึกษา: ศรีเทพ – ละโว้ – อโยธยา: เรื่องของสามนคร ตลาดวิชาสำหรับครู-อาจารย์” ครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 22-23 เมษายน ศกนี้ ณ สถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา จ. พระนครศรีอยุธยา
toyota
toyota
toyota
toyota
มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ร่วมมือกับ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ จัดการอบรม “อยุธยาศึกษา” ต่อเนื่องเป็นครั้งที่ 6 นับจากปี พ.ศ.2548 โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ครู – อาจารย์ ได้เข้าร่วมศึกษา และตระหนักถึงความสำคัญของ      “อยุธยาศึกษา”  มากยิ่งขึ้น พร้อมกระตุ้น และสนับสนุนความก้าวหน้าขององค์ความรู้เกี่ยวกับ   “อยุธยาศึกษา” อันจะเป็นการพัฒนาการศึกษาในสถาบันการศึกษาทุกระดับ เพื่อให้เกิดการสร้างทัศนคติของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ บนความหลากหลายทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม ความเชื่อ และศาสนา โดยมีผู้เข้าร่วมโครงการอบรมครั้งนี้จำนวนทั้งสิ้น 80 คน
toyota
toyota
toyota
การอบรมใช้เวลา 2 วัน ในรูปแบบการทัศนศึกษา ทั้งบรรยายและการอบรมภาคสนาม โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิชั้นนำของไทย ทั้งผู้ร่วมทำงานในการรวบรวมองก์ความรู้เพื่อจัดทำหนังสือ “อยุธยา: Discovering Ayutthaya” และอาจารย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้ปฏิบัติหน้าที่อยู่ใน จ.พระนคร ศรีอยุธยา และจ.ลพบุรี ได้แก่
toyota
toyota
1.  ดร. ชาญวิทย์  เกษตรศิริ
นักวิชาการชั้นนำ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์อยุธยา และประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งเลขานุการมูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ผลงานวิชาการที่สำคัญ ได้แก่ “อยุธยา : ประวัติศาสตร์และการเมือง” และ “อยุธยา : Discovering Ayutthaya”
toyota
toyota
2.  อ. ทรงยศ แววหงษ์
นักสังคมศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การท่องเที่ยว ผู้ทรงคุณวุฒิประจำโครงการอบรมมัคคุเทศก์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อดีตอนุกรรมการด้านการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย อาจารย์พิเศษประจำภาค วิชาสังคมศาสตร์  คณะอักษรศาสตร์     มหาวิทยาลัยศิลปากร    เป็นหนึ่งในคณะทำงานหนังสือ “อยุธยา : Discovering Ayutthaya”
toyota
toyota
3.  อ. สมฤทธิ์  ลือชัย
นักวิชาการอิสระ ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อสารมวลชน และด้านการท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทด้านรัฐศาสตร์ และด้านวารสารศาสตร์และสื่อมวลชน พิธีกรรายการโทรทัศน์หลายรายการ มัคคุเทศก์ด้านวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ หนึ่งในคณะทำงานหนังสือ “อยุธยา : Discovering Ayutthaya”
toyota
toyota
4.  ผศ.ดร.ธำรงศักดิ์  เพชรเลิศอนันต์
นักประวัติศาสตร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเมืองไทย เคยรับหน้าที่วิทยากรประจำรายการของวิทยุศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ “พาเที่ยวทั่วไทย” (F.M.92 A.M.1161 ปี 2538-2546) วิทยากรประจำโครงการอบรมมัคคุเทศก์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันเป็นอาจารย์ประจำคณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต หนึ่งในคณะทำงานหนังสือ “อยุธยา : Discovering Ayutthaya”
toyota
5.   อ.ภูธร  ภูมะธน
อดีตอาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรีลพบุรี     ผู้เชี่ยวชาญประวัติศาสตร์ศิลปวัฒนธรรมจังหวัดลพบุรี   ผู้เขียนวารสารเรื่อง “โกษาปาน: ราชทูตผู้กู้แผ่นดิน” “การสร้างเมืองลพบุรีให้เป็นราชธานีชั้นใน ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว”  “ความสำคัญของคูเมือง คันดิน กำแพงเมืองลพบุรี: ปัญหาการบุกรุกทำลายและแนวทางแก้ไข” “พระพุทธเจ้าหลวงกับเมืองลพบุรี” (ร.5 เสด็จประพาสลพบุรี 5 ครั้ง)
toyota
toyota
6.  อ.พันทิพา  มาลา
ผู้อำนวยการสถาบันอยุธยาศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา   หัวหน้าหน่วยอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมธรรมชาติและศิลปกรรมท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา   และ กรรมการบริหารจัดการ  กำกับ ควบคุมดูแลนครประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา
toyota
toyota
นอกจากผู้เข้าร่วมโครงการอบรมจะได้รับข้อมูล พร้อมแลกเปลี่ยนความรู้ทางวิชาการ ยังได้รับประสบการณ์ ในการทัศนศึกษาสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ ได้แก่ สถาบันอยุธยาศึกษา  มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หมู่บ้านญี่ปุ่น หมู่บ้านโปรตุเกส อุทยานประวัติศาสตร์
ศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ สมเด็จพระนารายณ์  จังหวัดลพบุรี หลังจากนั้นได้ร่วมปรึกษาหา “แนวทางแก้ไขปัญหาและอุปสรรคของอยุธยาศึกษาในสถาบันการศึกษา” ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความก้าวหน้าทางการศึกษาเรื่องอยุธยา รวมทั้งตระหนักถึงความสำคัญของประวัติศาสตร์อยุธยามากยิ่งขึ้นและสามารถนำความรู้และวิธีการที่ได้รับไปปรับใช้ในการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา ของตน อีกทั้งยังเป็นการเสริมสร้างทัศนคติของการอยู่ร่วมกันอย่างสันติในสังคมไทยและสังคมโลกซึ่งผู้เข้าร่วมการอบรมจะได้รับประกาศเกียรติบัตรหลังจากเสร็จสิ้นการอบรม
toyota
toyota
มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการศึกษา  ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนให้ความช่วยเหลือแก่ชุมชนในสังคมอย่างต่อเนื่องเข้าสู่ปีที่ 18 ด้วยตระหนักว่า “ชุมชน และสังคมที่เข้มแข็ง ย่อมอยู่บนรากฐานที่มั่นคงของการศึกษา และคุณภาพชีวิตที่ดี” มูลนิธิฯ ยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการสร้างสรรค์สังคมไทย ให้เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้อย่างยั่งยืนตลอดไป
toyota
“อนาคตสังคมไทย ความภูมิใจของเรา”

ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |