โตโยต้า เมืองสีเขียว ร่วมใจปลูกป่านิเวศภูเขา ภายใต้ โครงการ รักษ์ป่าน่าน
นายพิภัช ประจันเขตต์ ปลัดจังหวัดน่าน พร้อมด้วย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพลตรีกฤษณะ วัชรเทศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร นำคณะอาสาสมัครปลูกป่า กว่า 800 คน ร่วมกิจกรรมปลูกป่านิเวศภูเขาพื้นที่ต้นน้ำ ภายใต้ โครงการ รักษ์ป่าน่าน เป็นจำนวน 30,000 ต้น เพื่อสร้างองค์ความรู้เป็นต้นแบบการปลูกป่าในพื้นที่สูง ณ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา
โครงการ รักษ์ป่าน่าน
นายพิภัช ประจันเขตต์ ปลัดจังหวัดน่าน พร้อมด้วย นายนินนาท ไชยธีรภิญโญ รองประธานกรรมการ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ศาสตราจารย์ ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดีจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และพลตรีกฤษณะ วัชรเทศ ผู้ช่วยผู้อำนวยการศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 1 กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร นำคณะอาสาสมัครปลูกป่า กว่า 800 คน ร่วมกิจกรรมปลูกป่านิเวศภูเขาพื้นที่ต้นน้ำ ภายใต้โครงการรักษ์ป่าน่าน เป็นจำนวน 30,000 ต้น เพื่อสร้างองค์ความรู้เป็นต้นแบบการปลูกป่าในพื้นที่สูง ณ ตำบลเมืองจัง อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 2 กุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา
กิจกรรมปลูกป่านิเวศภูเขาพื้นที่ต้นน้ำ (Watershed Area) ในครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อสนองพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมของพื้นที่ป่าเขาในจังหวัดน่าน อันเป็นต้นทางของหนึ่งในสายน้ำที่หล่อเลี้ยงประเทศไทยในแถบที่ลุ่มภาคกลาง พระองค์จึงทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินโครงการ “รักษ์ป่าน่าน” เพื่อระดมสมองจากทุกภาคส่วนในการร่วมแรง ร่วมใจในการแก้ปัญหา หาวิถีทางที่จะคงสภาพป่าต้นน้ำน่าน และสร้างจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติแก่เด็ก และเยาวชน โดยเริ่มต้นดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2557 จนถึงปัจจุบัน
วัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ในพื้นที่สูง ภายใต้ชื่อ CU – TOYOTA Reforestation Model
ทั้งนี้ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จึงได้ร่วมมือกัน ในการนำองค์ความรู้ และประสบการณ์ในการเพิ่มพื้นที่สีเขียว มาประยุกต์ใช้กับการปลูกป่าในครั้งนี้ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการปลูกต้นไม้ในพื้นที่สูง ภายใต้ชื่อ CU – TOYOTA Reforestation Model อันจะเป็นองค์ความรู้ที่สำคัญในการเป็นต้นแบบ และขยายผลการเพิ่มพื้นที่ป่าในจังหวัดน่าน รวมถึงพื้นที่ป่าในภาคเหนือ ที่มีสภาพแวดล้อมและพื้นที่แตกต่างจากพื้นที่ราบ โดยทั้ง 2 หน่วยงานดังกล่าว ยังได้ร่วมมือกับ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) และจังหวัดน่าน ในการรวบรวมอาสาสมัครจากหลากหลายภาคส่วน รวมจำนวนทั้งสิ้นกว่า 800 คน อาทิ ประชาชนจังหวัดน่าน ทหาร ตำรวจ บุคลากรและนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้แทนจำหน่ายโตโยต้า และสมาชิกชมรม อีโตโยต้าคลับ (e-TOYOTACLUB) ที่ร่วมขับรถคาราวานเดินทางจากกรุงเทพฯ ร่วมทำการปลูกป่านิเวศในครั้งนี้ เป็นจำนวนกว่า 30,000 ต้น โดยใช้พันธุ์ไม้ท้องถิ่น (native species) จำนวน 31 สายพันธุ์ ซึ่งการใช้พันธุ์ไม้ท้องถิ่น จะทำให้กล้าไม้เจริญเติบโตได้ง่าย อยู่รอดตามสภาพภูมิประเทศ และภูมิอากาศภายในพื้นที่ได้เป็นอย่างดี
การสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทยผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ “ โตโยต้า เมืองสีเขียว ”
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ดำเนินงานเพื่ออนุรักษ์และรักษาสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ รวมถึงการสร้างจิตสำนึกด้านสิ่งแวดล้อมแก่สังคมไทยผ่านกิจกรรมต่างๆ ภายใต้โครงการ “ โตโยต้าเมืองสีเขียว ” โดยหนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการ คือ กิจกรรมปลูกป่านิเวศ ที่โตโยต้าได้ดำเนินตามแนวคิด “การปลูกป่านิเวศอย่างยั่งยืน” และ เทคนิควิธีการปลูกป่าตามแนวคิดของศาสตราจารย์ ดร. อาคิระ มิยาวากิ ศาสตราจารย์เกียรติคุณ มหาวิทยาลัยแห่งชาติโยโกฮาม่า และผู้อำนวยการสถาบันการเรียนรู้ด้านนิเวศวิทยานานาชาติประจำประเทศญี่ปุ่น ซึ่งทฤษฎีนี้ช่วยร่นระยะเวลาการเจริญเติบโตของป่านิเวศให้เร็วขึ้นนับสิบเท่าจากวิวัฒนาการตามธรรมชาติ ส่งผลให้ประสบความสำเร็จในการสร้างผืนป่าที่อุดมสมบูรณ์ อันจะก่อให้เกิดความหลากหลายทางชีวภาพของทั้งพืชและสัตว์
โตโยต้าได้ขยายผลกิจกรรมปลูกป่านิเวศ โดยร่วมกับผู้แทนจำหน่ายฯ บริษัทผู้ผลิตชิ้นส่วน และหน่วยงานต่างๆ ทั่วประเทศ โดยนอกจากจะนำองค์ความรู้ด้านการปลูกป่าไปเผยแพร่ให้แก่หน่วยงานและอาสาสมัครที่เข้าร่วมกิจกรรม ยังได้มีการติดตามผลและให้คำแนะนำในการดูแลรักษาผืนป่าที่ปลูกขึ้น ซึ่งจนถึงปัจจุบัน บริษัท โตโยต้าฯ ได้ดำเนินกิจกรรมการปลูกป่านิเวศไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 1,200,000 ต้น มีอัตราการรอดตายของต้นกล้าสูงถึงร้อยละ 90 ซึ่งผืนป่าเหล่านี้นอกจากจะช่วยดูดซับก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศได้ราว 9,600 ตัน* ต่อปี ยังถือเป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญ ในการขับเคลื่อนประเทศไทยให้กลายเป็นเมืองสีเขียวอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต