โตโยต้า ยกระดับการศึกษา
มร.เคียวอิจิ ทานาดะ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้มอบทุนสนับสนุนจำนวน 3.95 ล้านบาท ในนาม “กองทุน โตโยต้า” ประจำปี พ.ศ.2554 แก่ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยมี ผศ.ดร.ประพจน์ อัศววิรุฬหการ คณบดีคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นผู้รับมอบ พร้อมด้วยคณาจารย์ เมื่อวันที่ 11 สิงหาคม ศกนี้ ณ โรงแรมคอนราด ถนนวิทยุ
บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ดำเนินธุรกิจภายใต้นโยบาย ด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของโตโยต้า ตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ (Fully Integrated CSR across Value Chain) ซึ่งเป็นการบูรณาการความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจของโตโยต้าให้เจริญเติบ โตร่วมกับสังคมไทย โดยผ่านกิจกรรมเพื่อสังคม 4 ด้าน คือ ด้านสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยบนท้องถนน ด้านการศึกษา และการพัฒนาคุณภาพชีวิต อนึ่งในด้านการศึกษา มีการสนับสนุนทุนการศึกษาและการถ่ายทอดเทคโนโลยียานยนต์ เพื่อเป็น การส่งเสริมและสนับสนุนให้โอกาสทางการศึกษาแก่นักเรียน นักศึกษา ที่เรียนดีแต่ขาดแคลนทุนทรัพย์ให้สามารถนำความรู้ที่ได้รับจากการศึกษา ไปประกอบเป็นวิชาชีพดูแลครอบครัว และพัฒนาสังคมไทยต่อไป
หนึ่งในการสนับสนุนด้านการศึกษานั้น โตโยต้า ได้มีการมอบทุนสนับสนุนแก่ภาควิชาภาษาญี่ปุ่น คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ในนามของ “กองทุนโตโยต้า” ตั้งแต่ปี 2549 โดยมีระยะเวลาในการสนับสนุน 10 ปี โดยมอบทุนฯ ปีละ 3.95 ล้านบาท เป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 39.5 ล้านบาท สำหรับปี 2554 นับเป็นปีที่ 6 ในการสนับสนุนมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อยกระดับการเรียน การสอน และการวิจัยด้านภาษา และวรรณคดีญี่ปุ่น ให้กว้างขวาง และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
นอกจากการมอบทุนสนับสนุนดังกล่าวแล้ว โตโยต้า ยังได้ให้การสนับสนุนด้านการศึกษาในโครงการอื่นๆ ของ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่องนับจากอดีตจนถึงปัจจุบัน ได้แก่
? พ.ศ.2516 จนถึงปีปัจจุบัน มีการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่นิสิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 39 ปี รวมจำนวนนิสิตที่ได้รับทุนการศึกษาจาก โตโยต้าแล้ว จำนวน 1,474 ทุน คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 9,772,000 บาท
พ.ศ.2533 สนับสนุนงบประมาณจำนวนทั้งสิ้น 50 ล้านบาท ให้กับคณะวิศวกรรมศาสตร์ เพื่อจัดตั้งภาควิชาวิศวกรรมยานยนต์ พร้อมสร้างห้องปฏิบัติการด้านวิศวกรรม ยานยนต์ และมอบรถยนต์ โตโยต้า โซลูน่า เพื่อใช้ประกอบการเรียน การสอน ตลอดจนจัดหาผู้เชี่ยวชาญทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ ในการให้ความรู้แก่นิสิต
พ.ศ. 2550 สนับสนุนทุนการศึกษา “จุฬาฯ ดุษฎีภิพรรธน์” มูลค่า 2 ล้านบาท
ส่งเสริมการศึกษาให้กับนิสิตในระดับปริญญาดุษฎีบัณฑิต เพื่อสร้างองค์ความรู้ใหม่ที่มีความหลากหลาย และสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนต่อไป