“B20” … การก้าวไปอีกขั้นของเชื้อเพลิง Biodiesel

Biodiesel, B20

น้ำมันเชื้อเพลิงที่ชื่อ “Biodiesel” คือ สิ่งที่ถูกคิดค้น และสร้างขึ้นในประเทศไทยมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ด้วยแนวคิดริเริ่มในการพัฒนาพลังงานทดแทน จากพระปรีชาสามารถ และสายพระเนตรอันยาวไกล ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9 จนทำให้ปัจจุบัน “ไบโอดีเซล” คือ หนึ่งในประเภทของเชื้อเพลิงที่สำคัญจนปัจจุบันก้าวมาถึงยุคของเชื้อเพลิง “ไบโอดีเซล” B20

 

Biodiesel, B20

“Biodiesel” คือ

หลายๆ คนคงรู้จักกันอยู่แล้วว่า น้ำมันเชื้อเพลิง “ไบโอดีเซล” คือ เชื้อเพลิงเหลวที่มีส่วนประกอบจากไขมันพืช, ไขมันสัตว์ ที่ผ่านการใช้งานแล้ว นำมาทำปฏิกิริยาทางเคมี Transesterification ร่วมกับ “เมทานอล หรือ เอทานอล” จนเกิดเป็น “สารเอสเตอร์” ที่มีคุณสมบัติใกล้เคียงกับน้ำมันดีเซล จนสามารถที่จะใช้ทดแทนกันได้ โดยจะนำมาผสมกันกับน้ำมันดีเซลในสัดส่วนต่างๆ เช่น 5% หรือ 7% ก็จะได้เป็นน้ำมันไบโอดีเซล B5 หรือ B7 อย่างที่ใช้กันในปัจจุบัน

ส่วนประเภทของเชื้อเพลิง “ไบโอดีเซล” หลักๆ นั้นจะว่ากันไปตั้งแต่ “B2” ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันไบโอดีเซล 2% และดีเซล 98%, B5 ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันไบโอดีเซล 5% และดีเซล 95%, B20 ที่มีส่วนประกอบของน้ำมันไบโอดีเซล 20% และดีเซล 80%, B40 ที่มีส่วนประกอบของไบโอดีเซล 40% และดีเซล 60% และ B100 ที่เป็นไบโอดีเซลล้วนๆ 100 % ในขณะที่เมืองไทยนั้นยังมีความ “ขึ้นๆ ลงๆ” ด้วยปัจจัยหลายๆ อย่าง ทำให้คงตรึงเพดานกันไว้ที่ระดับ B7 – B10

 

Biodiesel, B20

B20 วิวัฒนาการใหม่ของ “ไบโอดีเซล” ในประเทศไทย

โดยล่าสุดข่าวคราวของน้ำมันเชื้อเพลิง “ไบโอดีเซล” ในประเทศไทย กำลังจะก้าวไปอีกขั้น สู่ยุคของ B20 ซึ่งหมายถึง น้ำมันที่มีส่วนผสมอันประกอบด้วย “ไบโอดีเซล” 20% และน้ำมัน ดีเซล 80% ซึ่งนอกเหนือจากคุณสมบัติที่ความใกล้เคียงกับเชื้อเพลิงดีเซลที่ผลิตจากปิโตรเลียมแล้ว ก็คือ “ราคา” ที่ถูกกว่า ทั้งยังรวมไปถึง สามารถย่อยสลายได้เอง ตามกระบวนการชีวภาพในธรรมชาติ และไม่เป็นพิษต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย จากการช่วยลดฝุ่นละอองขนาดเล็กที่เป็นปัญหา PM 2.5 ในปัจจุบันอีกด้วย

Biodiesel, B20

 

ซึ่งหลังจากนำร่องการใช้งานกับรถบรรทุกขนาดใหญ่แล้ว ข่าวดีก็คือ “รถปิกอัพ” ก็สามารถใช้ได้แล้วด้วยเช่นกัน โดยต้องอยู่ภายใต้แบรนด์ และรุ่นรถที่ได้รับการรับรองจากค่ายรถ (ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน) ซึ่งล่าสุดที่เพิ่มเติมเข้ามาก็คือ รถกระบะของค่าย Isuzu และ Toyota

เริ่มจากรถอเนกประสงค์ Toyota Fortuner และรถปิคอัพ Toyota Hilux ที่ใช้เครื่องยนต์รหัส 1GD-FTV และ 2GD-FTV ตั้งแต่ปี 2015 และรองรับมาตรฐาน Euro4 เป็นต้นไป ในขณะที่เวอร์ชั่นตั้งแต่เดือนสิงหาคมปี 2011 – 2015 ก็สามารถใช้ได้เช่นกัน แต่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไข และต้องติดต่อศูนย์จำหน่ายเพื่อขอรับคำแนะนำเพิ่มเติม

 

ขณะเดียวกันแบรนด์ Isuzu จะประกอบด้วย รถปิคอัพ Isuzu D-Max รุ่นตั้งแต่ปี 2012 ขึ้นไป และรถอเนกประสงค์ Isuzu Mu-X รุ่นปี 2014 ขึ้นไป ที่ใช้เครื่องยนต์รหัส 4JK1-TC, 4JJ1-TCX และ RZ4E-TC รองรับมาตรฐาน Euro3-4 โดยควรจะต้องอยู่ภายใต้คำแนะนำ และการตรวจสอบ รวมถึงการเปลี่ยนชิ้นส่วนเมื่อจำเป็นโดยศูนย์บริการมาตรฐานอีซูซุ

Biodiesel, B20

โดยถ้าใครอยากรู้แบบละเอียดเข้าตรวจสอบรายชื่อรุ่นรถกันได้เลยง่ายๆ ใน “Click” ที่อัพเดตมาให้เสร็จสรรพ ทั้งรถปิคอัพ ไปจนถึงเหล่ารถบรรทุกขนาดใหญ่เลยทีเดียว


ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |