BRIDGESTONE
เป็นเรื่องที่น่ายินดีกับเด็กๆ รุ่นใหม่ของเรา ในการเรียนรู้เรื่องราวของโลกกว้าง แล้วนำผลที่ได้จากการเรียนรู้มาเผยแพร่เพื่อให้เกิดความใส่ใจ ตระหนักรู้ในคุณค่าสิ่งแวดล้อมท้องถิ่น และเกิดกระบวนการอนุรักษ์สิ่งที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดนี้ไว้ให้นานเท่านาน
โครงการ สำรวจแห่งท้องทุ่งปีที่ 2 ซึ่งดำเนินการได้อย่างประสบความสำเร็จนั้น มีการทำงานร่วมกันจากหลายภาคส่วน ทั้งจากภาคการศึกษา จากภาคธุรกิจ และภาคองค์กรพัฒนาเอกชน และมีนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง 300 คน จาก 40 กลุ่ม ใน 15 โรงเรียน ที่เปี่ยมด้วย ความอดทน เฝ้าเรียนรู้ค้นคว้าประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น และสร้างกระบวนการอนุรักษ์และเผยแพร่ด้วยพลังของเยาวชน โดยมีผู้ใหญ่คือคุณครูคอยเป็นพี่เลี้ยงคอยให้คำชี้แนะและสนับสนุนการเรียนรู้ของเด็กๆ
บริษัทไทยบริดจสโตน เล็งเห็นในคุณค่าของการเรียนรู้ และเมื่อเราได้พิจารณาขั้นตอนกระบวนการของนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง เทียบเคียงกับหลักพื้นฐานที่บริดจสโตนเชื่อและปฏิบัติงานบนความเชื่อทั้ง 4 ด้านและ 4 ขั้นตอนของนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง เราจะพบความคล้ายคลึงกันในขั้นตอนต่างๆ เหล่านั้น
๏ Teamwork คือการร่วมกันทำงานเป็นทีม ทุกคนมีความสามารถแตกต่างกันไป เมื่อมารวมกันเป็นนักสำรวจ ทุกคนจะได้ตระหนักถึงการรวมพลังภายในทีมเพื่อให้ทีมแข็งแกร่ง โดยดึงเอาศักยภาพของแต่ละคนออกมาใช้อย่างเต็มที่อย่างไรบ้าง”
๏ Creativity คือการได้ใช้ความคิดสร้างสรรค์เพื่อค้นหาสิ่งใหม่ๆ สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ เด็กๆ จะต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ พัฒนากระบวนการเรียนรู้ สร้างเป็นเรื่องราวที่น่าสนใจให้ทุกคนได้หันกลับมามองคุณค่าต่างๆ เหล่านั้น และร่วมกันรักษาไว้ให้ตราบนานเท่านาน
๏ Good Planning ระยะเวลา 3 – 6 เดือนอาจไม่นานนัก แต่นักสำรวจน้อยๆ ซึ่งจะต้องอดทนทำงานแข่งกับตัวเอง แข่งกับเวลาในการวางแผนทุกขั้นตอนของกระบวนการ 4 ขั้นของนักสำรวจ คือ เรื่องราวเช่นเดียวกับทีมงานของไทยบริดจสโตนใส่ใจในทุกขั้นตอน ซึ่งล้วนต้องใช้ความเชื่อมั่นและจะต้องวางแผนไว้ดีแล้วเท่านั้น… เราจึงจะยิ้มรับผลสำเร็จได้อย่างภูมิใจ
๏ Hands on Experience และนี่คืออีกหนึ่งหลักพื้นฐาน ในคำว่า Genbutsu-Genba (เก็มบุตสึ เก็มบะ) ที่ บริดจสโตนทั่วโลกยึดมั่นเช่นเดียวกัน คือ การไปดูของจริงในสถานที่จริง เพื่อให้รู้ต้นเหตุของปัญหาจริงๆ ทำให้สามารถตัดสินใจได้อย่างถูกต้องสามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างรวดเร็วที่สุด
ในขณะที่เด็กๆ ได้เรียนรู้และเริ่มรับผิดชอบด้วยการลงมือปฏิบัติเพื่อดูแลรักษาสิ่งแวดล้อมท้องถิ่นของตนเอง บริดจสโตน ก็ต้องร่วมรับผิดชอบไปพร้อมๆ กับทุกๆ ภาคส่วนในสังคม ด้วยความเชื่อมั่นว่าเราเป็นทีมที่มีความมุ่งมั่น (Teamwork) ช่วยกันค้นหาสิ่งใหม่ๆ (Creativity) สิ่งที่จะเป็นประโยชน์ต่อโลกของเรา วางแผนอย่างรอบคอบ (Good Planning) ให้คนส่วนน้อยที่เริ่มใส่ใจกลายเป็นคนส่วนใหญ่ที่พร้อมจะดูแลโลกร่วมกัน เข้าไปให้ถึงแก่นแท้ของปัญหา (Hands on Experience) เพื่อลงมือแก้ไขปัญหาให้สำเร็จผลได้อย่างยั่งยืน
… เพื่อลูกหลานของเรา เพื่อสังคมไทยของเรา และเพื่อโลกของเรา…
บริดจสโตน
โครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
เป็นโครงการที่ใช้แนวคิดจากการดำเนิน “โครงการมหิงสาสายสืบ” ซึ่งบริษัทไทยบริดจสโตนต้องขอขอบคุณ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ที่ให้เราได้นำแนวคิดมาปรับใช้ในโครงการนักสำรวจแห่งท้องทุ่ง
วัตถุประสงค์การดำเนินโครงการด้วยความต้องการที่จะเสริมสร้างกระบวนการเรียนรู้เรื่องราวของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมใกล้ตัว โดยให้เด็กนักเรียนในระดับชั้นต่างๆ ได้ออกไปศึกษาธรรมชาติรอบๆตัว ทั้งในรั้วโรงเรียน ภายในชุมชนท้องถิ่น เน้นกิจกรรมที่นักเรียนสามารถดำเนินการเองได้ภายใต้การสนับสนุนจากโรงเรียนและครูพี่เลี้ยง โดยมีกระบวนการเรียนรู้ 4 ขั้นตอน คือ 1) การค้นหา 2) การสำรวจ 3) การอนุรักษ์ และ 4) การแบ่งปัน
ซึ่งทั้ง 4 ขั้นตอนนี้ จะช่วยเปิดโอกาสให้เด็กๆ ได้สำรวจ เรียนรู้ และใกล้ชิดกับธรรมชาติ เรียนรู้เพื่อเข้าใจและตระหนักในความสำคัญ ของสิ่งต่างๆ รอบตัวเรา ได้รวมกลุ่มกันทำกิจกรรมสำรวจและดูแลรักษาพื้นที่ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของตนเอง ผ่านประเด็นการศึกษาทั้ง 4 ประเด็น ได้แก่ 1) การศึกษาโลกร้อนและมลภาวะ 2) การศึกษาระบบนิเวศในท้องถิ่น 3) การอนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น และ 4) การศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพในภาคกลาง
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ส่วนแผนกสื่อสารองค์กรและกิจกรรมเพื่อสังคม
บริษัท ไทยบริดจสโตน จำกัด ติดต่อ คุณภูวดล น้ำดอกไม้ ผู้จัดการ โทร 02-516-8721-5 ต่อ 544