จ่อคิวรอ… แก้ กฎหมาย ปรับ 10,000-50,000 บาท กรณี “ไม่มี – ไม่พก ใบขับขี่”
จากกรณีที่เราถกเถียงกันพาซักระยะหนึ่ง เกี่ยวกับการที่ กรมการขนส่งทางบก เสนอแก้ไข กฎหมาย พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 โดยมีการเพิ่มโทษผู้ขับรถไม่มีใบขับขี่ เป็นจำคุก 3 เดือน ปรับ 5 หมื่น ขับรถในระหว่างใบขับขี่หมดอายุก็มีโทษจำคุก 3 เดือน กรณีต่ออายุก็ต้องอบรมทุกครั้ง ต้องตรวจสุขภาพผู้สูงอายุด้วย ประเมินความสามารถในการขับขี่ ประเด็น ดราม่าดังที่มีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย
โดยล่าสุด กรมการขนส่งทางบก ชี้แจง ประเด็นการแก้กฎหมายเพิ่มโทษความผิดเกี่ยวกับใบอนุญาตขับรถ ที่ยังอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ยืนยัน!! ยังไม่มีผลใช้บังคับแต่อย่างใด การเพิ่มโทษกรมการขนส่งทางบกได้ดำเนินกาปรับปรุงกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ.2522 และพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522 โดยรวมเข้าเป็นฉบับเดียวกัน
เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมและกำกับการใช้รถ ยกระดับมาตรฐานความมั่นคงแข็งแรงด้านตัวรถ และการประกอบการขนส่งให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน โดยปรับปรุงรายละเอียดของกฎหมายให้เป็นเครื่องมือในการควบคุมกำกับพฤติกรรมของผู้ขับขี่ให้มากขึ้น รวมถึงปรับเพิ่มบทลงโทษกรณีผู้ขับขี่กระทำผิด เพื่อให้ผู้ขับขี่ตระหนักและปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด และเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยลดอุบัติเหตุและความสูญเสียต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ซึ่งขณะนี้ ร่างพระราชบัญญัติการขนส่งทางบก ฉบับบใหม่ ยังอยู่ระหว่างการนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนส่งสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณา และประกาศใช้บังคับเป็นกฎหมายต่อไป
โดยร่างพระราชบัญญัติฯ ใหม่เสนอให้ปรับเพิ่มโทษเป็นจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท ความผิดเกี่ยวกับการขับรถในระหว่างใบอนุญาตสิ้นอายุ ถูกพักใช้ หรือเพิกถอนใบอนุญาต หรือถูกยึดใบอนุญาต ปัจจุบันมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท ส่วนร่างพระราชบัญญัติฯ ใหม่ เพิ่มโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน ปรับเพิ่มขึ้นเป็นสูงสุดไม่เกิน 50,000 บาท และส่วนความผิดเกี่ยวกับการขับรถโดยไม่แสดงใบอนุญาต ปรับสูงสุดไม่เกิน 10,000
โดยทั้งหมดยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) แต่ยังระบุไม่ได้ว่าจะผ่านความเห็นชอบเมื่อไหร่ หากผ่านการพิจารณาของ สนช. แล้ว จะต้องประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา และเมื่อประกาศครบ 1 ปี จะมีผลบังคับใช้อย่างเป็นทางการ
จริงๆแล้วเรื่องนี้แก้ไม่ยาก “ก็ แค่พกใส่กระเป๋าสตางค์ไว้ยามไปไหนมาไหนไว้ตลอด ก็คงไม่น่าจะหนักหน่วงอะไรใช่มั้ยครับ แค่ใบเล็กๆเอง