องค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศญี่ปุ่นประกาศขยายการศึกษาวิจัยและโครงการพัฒนา เพื่อสนับสนุนระบบชาร์จไร้สายสำหรับรถยนต์พลังไฟฟ้า
องค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศญี่ปุ่น ประกาศขยายการศึกษาวิจัยร่วมและโครงการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต
เมื่อเร็วๆนี้ บัณฑิตวิทยาลัยวิทยาการวิทยาศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยโตเกียว โดยห้องปฏิบัติการ Fujimoto ร่วมกับ บริษัท NSK Ltd. และบริษัท บริดจสโตนสโตน คอร์ปอเรชั่น ประกาศขยายการศึกษาวิจัยร่วมและโครงการพัฒนาสิ่งประดิษฐ์ในอนาคต ภายใต้การนำวิจัยตั้งแต่ปีที่ผ่านมาโดยองค์การวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีประเทศญี่ปุ่น (JST), NSK และบริดจสโตนสโตน คอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้ยังขยายความร่วมมือถึงข้อตกลงใหม่ในการจัดการสิทธิบัตรขั้นพื้นฐานซึ่งเป็นผลมาจากโครงการและความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาระบบชาร์จไร้สายที่ใช้งานได้จริงสำหรับมอเตอร์ในล้อซึ่งติดตั้งในรถยนต์พลังไฟฟ้า (EVs)
โครงการดังกล่าวมุ่งเน้นที่จะพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัยโดยอาศัยไอเดียใหม่ๆ และความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เพื่อช่วยส่งเสริมความสำเร็จในการสร้างสังคมที่ยั่งยืนกว่าด้วยการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในปริมาณต่ำ แผนการดำเนินงานปัจจุบันของโครงการมีกำหนดระยะเวลาเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2561 ถึงปี 2565 ภายใต้หัวข้อการวิจัยของ JST ที่มุ่งแก้ปัญหาที่จำเป็นของโลกที่เผชิญสู่การสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ
จากปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์รวมของญี่ปุ่น (1,227 ล้านตันต่อปี) ซึ่งปริมาณก๊าซ 15% (184.5 ล้านตันต่อปี) มาจากรถยนต์ ทั้งนี้ ผู้ผลิตรถยนต์ทั่วโลกต่างส่งเสริมการพัฒนาและการปรับใช้รถยนต์พลังไฟฟ้าเพื่อรับมือกับแนวโน้มในอนาคต และคาดการณ์ว่าภูมิภาคยุโรปจะออกกฎข้อบังคับในปี 2563 เกี่ยวกับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จากรถยนต์*1 เมื่อพิจารณาแนวโน้มและความต้องการรถยนต์พลังไฟฟ้าที่คาดการณ์ไว้ ย่อมมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการขาดแคลนแบตเตอรี่สำหรับรถดังกล่าวในอนาคตอันใกล้ โครงการของ JST จึงมุ่งพัฒนาเทคโนโลยีทันสมัยที่จะช่วยเพิ่มความมั่นใจว่ารถยนต์พลังไฟฟ้ามีระยะทางในการขับขี่ที่มีประสิทธิภาพ พร้อมทั้งใช้แบตเตอรี่น้อยกว่าเดิมด้วยการติดตั้งมอเตอร์ภายในล้อที่สามารถรับพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงจากถนนขณะขับหรือหยุดรถ หากดำเนินการสำเร็จ ระบบดังกล่าวจะช่วยจัดการกับปัญหาการขาดแคลนแบตเตอรี่ในอนาคตทั้งยังจะช่วยลดน้ำหนักของรถยนต์พลังไฟฟ้าได้อีกด้วย
ภาพแนวคิดรถยนต์พลังไฟฟ้าซึ่งได้รับพลังงานไฟฟ้าจากถนนขณะขับ
(แหล่งที่มา: สื่อจากงานวิจัยของ JST และโครงการพัฒนาเพื่อสิ่งประดิษฐ์แห่งอนาคต)
http://www.jst.go.jp/mirai/jp/uploads/saitaku2017/JPMJMI17EM_fujimoto.pdf
โครงการวิจัยและพัฒนาดังกล่าว มหาวิทยาลัยโตเกียวได้รับผิดชอบด้านการประดิษฐ์และพัฒนาแนวคิดการชาร์จไร้สายระหว่างการขับเคลื่อนของมอเตอร์ในล้อรถ รวมถึงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขั้นพื้นฐานต่างๆ ด้าน NSK จะดูแลในด้านการพัฒนามอเตอร์ในล้อที่ทำงานร่วมกับรถยนต์ได้ง่ายยิ่งขึ้นด้วยการใช้เทคโนโลยีที่พัฒนามาจากโครงการมอเตอร์ในล้อก่อนหน้านี้ นอกจากนั้นบริษัทยังจะค้นหาวิธีการที่จำเป็นในการนำระบบการชาร์จไร้สายทมาปรับใช้ในระบบโครงสร้างขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในสังคม ด้านบริดจสโตนจะเป็นผู้นำในกระบวนการพัฒนายางล้อ เพื่อส่งเสริมการใช้กระแสไฟฟ้าที่ทรงประสิทธิภาพสูงให้มอเตอร์ในล้อรถระหว่างการชาร์จด้วยเทคโนโลยีของวัสดุในการผลิตยางล้อ
กำหนดการในอนาคตของโครงการดังกล่าว คือ การออกแบบ, การสร้างต้นแบบ และการตรวจสอบมอเตอร์ในล้อจากนั้นจึงจะเริ่มผลิตรถยนต์พลังไฟฟ้าที่ติดมอเตอร์ชนิดนี้ ภายในปี 2565 มีแผนที่จะเริ่มทดสอบระบบดังกล่าวในรถยนต์พลังไฟฟ้าที่ติดตั้งยางล้อที่ได้รับการพัฒนาขึ้นมาใหม่ ด้วยการสนับสนุจากองค์กรและบริษัทต่างๆที่ร่วมมือกันในการสร้างระบบนี้ ทีมดำเนินการจะเดินหน้าพัฒนาต่อไปโดยมีเป้าหมายเข้าสู่ระยะแผนการทดสอบการใช้งานภายในปี 2568
มหาวิทยาลัยโตเกียว, NSK และบริดจสโตนร่วมกันตกลงที่จะมอบสิทธิบัตรขั้นพื้นฐานที่เกี่ยวข้องกับโครงการนี้อย่างเปิดกว้าง ดังนั้นขอบข่ายงานด้านทรัพย์สินทางปัญญาที่บริษัทและองค์กรต่างๆได้รับอนุญาตผ่านคณะกรรมการควบคุมดูแลโครงการดังกล่าวจะสามารถใช้เทคโนโลยีที่ได้รับการคุ้มครองสิทธิได้โดยไม่ต้องดำเนินการมอบสิทธิ ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมแบบเปิดที่พัฒนาไปเหนือขีดจำกัดของโครงการศึกษาวิจัยร่วมในปัจจุบัน ด้วยโครงการดังกล่าวมหาวิทยาลัยโตเกียว, NSK และบริดจสโตน มีเป้าหมายที่จะส่งเสริมการสร้างสังคมแห่งการเดินทางที่ยั่งยืนด้วยการส่งเสริมนวัตกรรมแบบเปิดและผสานเทคโนโลยีเพื่อพัฒนาการเดินทางและการขนส่งสินค้า
*1 แหล่งที่มา: แผนวิจัยและพัฒนาตามหัวข้อหลักของงานวิจัยจาก JST คือ “ความสำเร็จในการสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ
ผ่านเทคโนโลยีทันสมัย”