ฮุนไดมอเตอร์สร้างศูนย์นวัตกรรมคมนาคมระดับโลกที่ประเทศสิงคโปร์
ฮุนได มอเตอร์ สร้างศูนย์นวัตกรรมการคมนาคมระดับโลก
บริษัท ฮุนได มอเตอร์ จะสร้างศูนย์นวัตกรรมการคมนาคมระดับโลกที่ประเทศสิงคโปร์ (HMGICs) เพื่อเร่งพัฒนานวัตกรรมใหม่ โดยได้รับการสนับสนุนจากคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจของสิงคโปร์ (EDB)
ศูนย์นวัตกรรมแห่งใหม่จะตั้งอยู่ในเขตนวัตกรรมจูร่ง ของสิงค์โปร์ ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตชั้นนำแบบครบวงจรที่พัฒนาโดยบริษัท เจทีซี คอร์ปอเรชั่น ซึ่งเป็นแหล่งนิเวศน์ทางธุรกิจของ นักวิจัย ผู้ให้บริการฝึกอบรมและเทคโนโลยี และโรงงานในอนาคต ศูนย์นวัตกรรมแห่งนี้จะครอบคลุมพื้นที่ 44,000 ตารางเมตร โดยมีพื้นที่อาคาร 28,000 ตารางเมตร และจะเริ่มก่อสร้างในเดือนพฤษภาคมโดยคาดว่าจะแล้วเสร็จในช่วงครึ่งหลังของปี พ.ศ. 2565
การก่อตั้งศูนย์นวัตกรรม (HMGICs) แห่งนี้จะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการปฏิรูปบริษัทให้กลายเป็นผู้ให้บริการด้านคมนาคมอัจฉริยะ และสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืน ศูนย์ฯ จะสำรวจความคิดด้านธุรกิจและเทคโนโลยี เพื่อปฏิวัติห่วงโซ่คุณค่าที่ผสานด้านการวิจัยและพัฒนา, ธุรกิจและการผลิต เพื่อการคมนาคมอัจฉริยะในอนาคต นอกจากนี้ยังช่วยกำหนดทิศทางธุรกิจในอนาคตของบริษัทอีกด้วย
ศูนย์นวัตกรรมฮุนไดแห่งนี้ (HMGICs) จะกลายเป็นศูนย์รวมนวัตกรรมแบบเปิดระดับโลกของฮุนได ห้องปฏิบัติการจะสำรวจและพิสูจน์แนวคิดด้านธุรกิจยานยนต์ในอนาคตผ่านนวัตกรรมแบบเปิดหลากหลายรูปแบบ เพื่อออกมาใช้ในตลาดโลก โดยเมื่อนำเอานวัตกรรมแบบเปิดของฮุนไดมาผสานกับความพร้อมของประเทศสิงค์โปร์ ศูนย์นวัตกรรมของฮุนได (HMGICs) จะตรวจสอบแนวคิดรวมถึงการให้บริการยานยนต์ในหลากหลายรูปแบบ
นอกจากนี้ ศูนย์แห่งนี้จะใช้ความพยายามในการเข้าถึงตลาดและลูกค้าใหม่ด้วยเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยด้วยการปฏิรูปงานวิจัยและพัฒนาด้านยานยนต์ การผลิต และการขาย การรวมนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI), การเชื่อมโยงอินเตอร์เน็ต (IoT) และเทคโนโลยีล้ำสมัยอื่นๆ ศูนย์ ฯ จะสร้างแพลทฟอร์มในการผลิตอัจฉริยะที่เน้นมนุษย์เป็นศูนย์กลางที่จะได้รับการตรวจสอบผ่านโรงงานนำร่องการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้า และพร้อมๆ ไปกับแพลทฟอร์ม ขบวนการพัฒนานวัตรรมผลิตภัณฑ์และระบบการผลิตตามความต้องการจะได้รับการทดสอบและพิสูจน์
“ศูนย์นวัตกรรมการคมนาคมระดับโลกของฮุนได เป็นความแปลกใหม่ที่เกิดขึ้นในการออกแบบนิเวศน์ ทางธุรกิจยานยนต์ที่กำลังเติบโตของสิงคโปร์ ศูนย์นี้มุ่งเน้นไปที่แนวคิดนวัตกรรมธุรกิจและการพัฒนาแพลทฟอร์มการผลิตอัจฉริยะ ด้วยการใช้ประโยชน์จากศักยภาพด้านการวิจัยและนวัตกรรมที่สิงคโปร์มอบให้กับบริษัทที่ต้องการพัฒนา ทดสอบและสร้างสรรค์แนวทางใหม่ให้กับโลก” มร.แทน คอง ฮวี ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ, คณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจ (EDB)
“ศูนย์กลางนวัตกรรม (HMGICs) จะเป็นฐานทดสอบเพื่อการสำรวจและตรวจสอบสิ่งที่ฮุนไดได้วางแผนไว้ในอนาคต การนำความมุ่งมั่นด้านนวัตกรรมของฮุนไดผนวกกับความพร้อมของสิงค์โปร์ เราจะสามารถพัฒนาธุรกิจและเทคโนโลยีที่ล้ำสมัยในอนาคต” มร. โบ ชิน โซ ประธานบริษัท ฮุนได มอเตอร์ กล่าว
สิงคโปร์ถูกจัดให้เป็นอันดับที่หนึ่งในรายงานศักยภาพการแข่งขันในโลกของ World Economic Forum’s 2019 ศักยภาพในการแข่งขันของสิงคโปร์มีรากฐานจากที่ตั้งทางยุทธศาสตร์, การแข่งขันด้านแรงงาน, สภาพแวดล้อมความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจ และนโยบายเศรษฐกิจแบบมองการณ์ไกล และด้วยประวัติอันแข็งแกร่งด้านวัตกรรมแบบเปิด สิงคโปร์จึงเป็นสถานที่ที่ดีที่สุดสำหรับฮุนไดในการทดสอบความคิดเชิงสร้างสรรค์อย่างเช่น ศูนย์นวัตกรรม (HMGICs)
การเป็นส่วนหนึ่งของการริเริ่ม Smart Nation เพื่อผลักดันการนำนวัตกรรมดิจิตอลมาใช้ในอุตสาหกรรม ประเทศสิงคโปร์กำลังสนับสนุนให้นำเทคโนโลยีดิจิตอลมาใช้งาน อย่างเช่น นวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (AI), การนำเทคโนโลยีดิจิตัลมาใช้ในธุรกิจ รวมไปถึงการขับเคลื่อนอันชาญฉลาด
การเปลี่ยนแปลงเพื่อเป็นผู้ให้บริการคมนาคมอัจริยะของฮุนได
เมื่อเดือนธันวาคม ปีที่ผ่านมา ฮุนได มอเตอร์ ประกาศวิสัยทัศน์ใหม่ขององค์กร ภายใต้ชื่อ “กลยุทธ์ 2025” มุ่งมั่นในการเปลี่ยนองค์กรเป็นผู้ให้บริการคมนาคมอัจฉริยะ ด้วย 2 เสาหลักธุรกิจ ซึ่งก็คือ เครื่องมือคมนาคมอัจฉริยะและการให้บริการคมนาคมอัจฉริยะ
ภายใต้เสาหลักดังกล่าว การให้บริการคมนาคมอัจฉริยะจะเป็นหลักขับเคลื่อนที่สำคัญของฮุนได ด้วยการนำเครื่องมือและการให้บริการมาให้บริการเฉพาะแบบที่เหมาะสมกับไลฟ์สไตล์ของลูกค้า
บริษัทวางแผนที่จะใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลลูกค้าเพื่อให้บริการรถยนต์ อาทิ การดูแลรักษา การซ่อม การเงิน การประกันและการชาร์จ โดยบริษัทจะสร้างแพลทฟอร์มอัจฉริยะที่จะวิเคราะห์ข้อมูลจากการใช้งาน และการเชื่อมต่อ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเข้าใจความต้องการของลูกค้าให้มากขึ้น เพื่อให้บริษัท สามารถออกแบบและมอบบริการที่เฉพาะและเหมาะกับไลฟสไตล์ของลูกค้าได้ดียิ่งขึ้น
กลยุทธ์ 2025 ยังได้ลงรายละเอียดในการเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการคมนาคมอัจริยะในแต่ละภูมิภาคอีกด้วย อาทิ ในประเทศเกาหลี ออสเตรเลีย และประเทศอื่นๆ ในทวีปเอเชีย ฮุนไดวางแผนที่จะร่วมมือในการพัฒนาคมนาคมอัจริยะกับพันธมิตรในประเทศดังกล่าว เป็นต้น