ยางบวม นั้นเกิดจากอะไร และต้องทำอย่างไรบ้าง
สาเหตุของ ยางบวม ยางรถยนต์ ผลิตมาจากวัตถุดิบหลัก ๆ 6 ชนิด คือ ยางธรรมชาติ จะให้ความทนทาน ,ยางสังเคราะห์ ให้ความนุ่มนวล ,สารที่เอาไว้เพิ่มความแข็งแรงให้กับยางคือ คาร์บอนแบล็ก จะทำให้ยางมีสีดำ และซิลิก้า มีคุณสมบัติช่วยในการประหยัดน้ำมันและช่วยเกาะถนนบนพื้นเปียก เส้นใยที่เป็นโครงสร้างยาง ซึ่งเป็นตัวสำคัญ ที่รับแรงดึงที่เกิดจากแรงดันลมยาง เส้นลวดที่ถูกเคลือบด้วยยาง ลวดตัวนี้จะทำหน้าที่ให้ความแข็งแรง และกำมะถัน น้ำมันต่าง ๆ ทำหน้าที่หลอมให้ยางและโครงสร้างทั้งหมดเป็นชิ้นเดียวกัน
ทำไมยางถึงบวมได้
การที่ยางบวมส่วนใหญ่เกิดจากการมีแรงกระแทกอย่างรุนแรง เช่น ขึ้นลูกระนาดอย่างเร็ว, ตกหลุมถนนด้วยความเร็ว หรือยางกระแทกที่ขอบทาง ทำให้โครงสร้างภายในผ้าใบและเส้นใยฉีกขาด ส่วนใหญ่จะเกิดที่แก้มยางที่เมื่อ เจอแรงดันภายในจะโป่งออกมาเป็นอาการบวม ไม่ควรใช้รถวิ่งต่อ เพราะความร้อนในล้อจะเพิ่มมากขึ้น และแรงดันนั้นจะทำให้แตกระเบิดได้
ในกรณีที่ยางเริ่มบวม ไม่ใหญ่มาก พอจะสามารถแก้ไขได้
การยางที่มีอาการบวมไม่ถึง 1/4 นิ้วหรือราว ๆ 0.6 ซม. สามารถซ่อมแซมได้ด้วยช่างผู้เชี่ยวชาญ และการซ่อมด้วยเข็มเจาะเพียงอย่างเดียว เชื่อถือว่ามันได้ผล และค่อนข้างที่จะอันตราย เนื่องจากหลังการรั่วจะต้องตรวจสอบด้านในของยางด้วย นอกจากนั้น อย่าซ่อมยางที่สึกหรอต่ำกว่า 2/32 นิ้ว ของความลึกดอกยาง
หากยางบวมควรรีบเปลี่ยนทันที
หากตอนนั้นมีค่าใช้จ่ายพอดี ก็แนะนำอีกวิธี คือหาร้านยางมือสองหรือยางเปอร์เซ็นต์เปลี่ยนเพียงล้อเดียวก่อนก็ได้ในราคาหลักร้อยบาท เพราะถ้าเกิดยังดื้อใช้ต่อแล้วยางระเบิด คิดว่าไม่จะคุ้มแน่กับความเสียหายถึงชีวิต
ยางบวม เคลมได้นะ หากมีประกันชั้น 1
ถ้าเป็นประกันรถยนต์ชั้น 1 ซึ่งส่วนใหญ่จะมีการระบุเรื่องอุบัติเหตุเกี่ยวกับยาง ทางบริษัทประกันจะรับเคลม 50% ของราคายางเท่านั้น และเป็นตามจำนวนล้อที่เกิดความเสียหายขึ้นจริง โดยนำใบเสร็จจากร้านยางที่มีมาตรฐานไปตั้งเบิกกับบริษัทประกันนั้นๆ
ดังนั้นอาการยางบวมเป็นปัญหาที่สามารถตรวจเองได้ และเห็นได้อย่างชัดเจน ส่วนใหญ่ก็จะอยู่บริเวณแก้มยางด้านนอก หากดูยังไม่เกิดอาการบวมมาก แนะนำให้ขับรถช้า ๆ แล้วไปเปลี่ยนทันที