TAC ชูแผนกระตุ้นตลาด LUKมั่นใจยอดขายปี2008 โตตามเป้า ชี้…เข้าถึงอย่างมีคุณภาพ-เปิดโอกาสให้ลูกค้าเลือก..มั่นใจเติบโตยั่งยืน
นายวศิน รัชตังกูร ผู้จัดการผลิตภัณฑ์ LUK บริษัท ที อาร์ ดับบลิว เอเชียติ๊ก จำกัด เปิดเผยว่า ผลิตภัณฑ์ LUK ที่ทางบริษัทนำมาทำตลาดป็นระบบคลัทช์สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่ใช้ในรถยุโรป ซึ่งเริ่มทำตลาดในประเทศไทยในปี 2550 และเริ่มทำตลาดอย่างจริงจังในปีนี้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผลิตภัณฑ์ LUK มีจำหน่ายอยู่แล้วในเมืองไทยนานหลายปี ก่อนที่ TAC จะได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการ ภายหลังการแต่งตั้ง TAC วางนโยบายตลาด การขายควบคู่ไปกับการพรีเซนต์ชื่อเสียงของแบรนด์ LUK โดยมุ่งหวังให้ผลิตภัณฑ์ LUK มีแบรนด์แวลลูอย่างแท้จริง พร้อมความยั่งยืนทางการตลาดที่สัมผัสได้ โดย TAC วางใจที่จะวางจำหน่ายผลิตภัณฑ์ LUK ไปยังตัวแทนจำหน่ายหลักของบริษัทจำนวน 21 ราย เพื่อให้ตัวแทนดังกล่าวเป็นผู้กระจายสินค้าไปยังกลุ่มเป้าหมายทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพอีกทอดหนึ่ง
” เนื่องจาก LUK เป็นคลัทช์สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคลที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายทั่วโลก โดยถือกำเนิดเป็นครั้งแรกในปี 2508 หรือกว่า 43 ปีมาแล้ว จึงเป็นที่แน่นอนว่าตัวแทนจำหน่าย อู่ซ่อมรถและลูกค้าที่ใช้รถส่วนใหญ่รู้จัก LUK อยู่แล้ว แต่ปัญหาสำคัญคือจะทำอย่างไรให้ผลิตภัณฑ์ LUK ถูกส่งต่อไปยังลูกค้าอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด เป็นแบรนด์ที่ลูกค้าเจาะจงเลือกใช้เมื่อระบบคลัทช์มีปัญหาหรือต้องการเปลี่ยน โดยสามารถบอกแทนช่างได้ นั้นคือเป้าหมายที่สำคัญที่สุด ” นายวศินกล่าวและว่า นโยบายการทำตลาดที่ TAC ดำเนินการยังตัวแทนจำหน่ายทั้ง 21 ราย แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรกคือเน้นการประสานงานระหว่างตัวแทนจำหน่ายกับ TAC เช่นการวางแผนการสต็อกผลิตภัณฑ์ล่วงหน้า เพื่อให้ลูกค้าเลือกใช้ได้ทันที ฯลฯ ส่วนที่ 2 คือการเสริมสร้างความรู้ต่างๆด้านผลิตภัณฑ์ และเทคนิคเกี่ยวกับคลัทช์ ความคืบหน้าของผลิตภัณฑ์ทั้งในส่วนของข่าวความเคลื่อนไหวใหม่ ๆ การตอบรับจากผู้ผลิตรถยนต์ชั้นนำของโลก ฯลฯ ให้กับตัวแทนจำหน่ายซึ่งจะทำให้ตัวแทนได้ทราบถึงศักยภาพของผลิตภัณฑ์มากยิ่งขึ้นและสามารถพรีเซนต์ไปยังลูกค้าได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยในปีนี้ TAC ยังไม่มีแผนที่จะเพิ่มจำนวนตัวแทนจำหน่าย เพราะเชื่อว่าตัวแทนจำหน่ายที่มีอยู่สามารถที่จะรองรับและกระจายผลิตภัณฑ์ได้ครอบคลุมอยู่ เพราะคาดว่าจะสามารถเป็นผู้นำตลาดคลัทช์รถยุโรปได้ในระยะ 2-3 ปีข้างหน้านี้ ทั้งนี้ประมาณว่ามูลค่าทางการตลาดของผลิตภัณฑ์คลัทซ์ในประเทศไทยจะมูลค่าประมาณ 100 ล้านบาท และมีอัตราการเติบโตไม่สูงมากนัก ( เนื่องจากปริมาณรถยุโรปที่ใช้เกียร์ธรรมดาน้อยกว่าเกียร์อัตโนมัติ ซึ่งต้องใช้อะไหล่ประเภทคลัทช์มีน้อยกว่าการใช้รถเกียร์อัตโนมัติ )