หุ่นยนต์ของโตโยต้าช่วยสานฝันให้ผู้คนได้สัมผัสประสบการณ์ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ในปี 2020 มุ่งมั่นพัฒนา “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน” เพื่อเพิ่มพูนและขยายขอบเขตศักยภาพของมนุษย์

หุ่นยนต์โตโยตาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ในปี 2020

หุ่นยนต์ของโตโยต้าช่วยสานฝันให้ผู้คนได้สัมผัสประสบการณ์ การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ในปี 2020

บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ คอร์ปอเรชั่น (โตโยต้า) ในฐานะพันธมิตรหลักของการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิก ไม่เพียงแต่จะให้การสนับสนุนยานพาหนะเพื่ออำนวยความสะดวกสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก โตเกียว 2020 เท่านั้น แต่ยังมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาด้านการสัญจรสำหรับการแข่งขันระดับโลกในครั้งนี้อีกด้วย โดยสิ่งหนึ่งที่โตโยต้ากำลังดำเนินการคือการเข้าร่วม “โครงการหุ่นยนต์โตเกียว 2020” โครงการดังกล่าวมีคณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก โตเกียว 2020 เป็นหัวเรือหลัก ผสานการทำงานร่วมกับหลายภาคส่วน ทั้งรัฐบาล สำนักงานบริหารมหานครโตเกียว พันธมิตรของการจัดการแข่งขัน ตลอดจนบรรดาผู้เชี่ยวชาญในด้านหุ่นยนต์ ทั้งนี้ ในการแข่งขันโอลิมปิกและพาราลิมปิก โตเกียว 2020 หุ่นยนต์ของ โตโยต้าจะถูกนำมาใช้งานเพื่อสนับสนุนการสัญจรในสถานที่หลายแห่งภายในบริเวณการจัดงาน โตโยต้าเชื่อมั่นว่า ด้วยความมุ่งมั่นในการ ช่วยให้ผู้คนเข้าถึงความรู้สึกและสัมผัสประสบการณ์แห่งความหวังและความฝันที่เป็นจริง โตโยต้าจะมีส่วนช่วยสร้างความตื่นเต้นและ ความสำเร็จอย่างสวยงามให้กับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก โตเกียว 2020 ได้ในท้ายที่สุด

โนบุฮิโกะ โคกะ หัวหน้าศูนย์วิจัยฟรอนเทียร์ รีเสิร์ช เซ็นเตอร์ ของโตโยต้า เปิดเผยว่า “ที่โตโยต้า เรานำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์อุตสาหกรรมมาประยุกต์ใช้ในหลายรูปแบบด้วยความตั้งใจที่จะ’สนับสนุนการใช้ชีวิตประจำวันของมวลมนุษย์และเชื่อมต่อการอยู่ร่วมกันกับผู้คนอย่างกลมกลืน’ ตัวอย่างหนึ่งของความพยายามดังกล่าวคือ ตั้งแต่ในปี 2004 เราได้พัฒนาหุ่นยนต์ผู้ช่วยสำหรับผู้พิการที่ไม่สามารถเคลื่อนที่ได้ ด้วยตนเอง ซึ่งหมายรวมไปถึงคนชราด้วย ปัจจุบัน เรากำลังผันตัวเองไปสู่การเป็นองค์กรแห่งการขับเคลื่อน ด้วยเหตุนี้ เราจึงขยายขอบเขตการพัฒนาหุ่นยนต์ของเราเพื่อช่วยให้ผู้คนมีอิสระในการขับเคลื่อนมากขึ้น โตโยต้ามุ่งมั่นจะผลักดันให้ “การขับเคลื่อนสำหรับทุกคน” เป็นความพยายามที่ไม่จำกัดอยู่เพียงแค่การเคลื่อนย้าย ‘ทางกาย’ ของคนหรือสิ่งของเท่านั้น แต่ยังจะครอบคลุมไปถึงการเคลื่อนย้ายแบบ ‘เสมือนจริง’ สำหรับผู้คนอีกด้วย นวัตกรรมนี้จะเปิดโอกาสให้ผู้คนได้สัมผัสประสบการณ์ใหม่ๆ รวมถึงได้พบเจอและมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น ตลอดจนได้ดื่มด่ำกับ ‘ความประทับใจ’ อย่างลึกซึ้ง โดยในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก โตเกียว 2020 นี้ เราต้องการจะเก็บทุกจินตนาการของบรรดาผู้ชมด้วยการจัดให้มีหุ่นยนต์บริการ เพื่อช่วยสนับสนุนให้การแข่งขันประสบความสำเร็จ”

รายละเอียดของหุ่นยนต์ *หุ่นยนต์ที่จะใช้ในการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก โตเกียว 2020 อาจมีการออกแบบที่แตกต่างกัน

หุ่นยนต์มาสคอตสำหรับการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกพาราลิมปิก โตเกียว 2020 

มิไรโตวะ / โซไมตี (หุ่นยนต์มาสคอต)

หุ่นยนต์โตโยตาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ในปี 2020
เพื่อให้การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิกครั้งนี้ เป็นการแข่งขันที่เพียบพร้อมไปด้วยนวัตกรรมและความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากที่สุดในประวัติศาสตร์การจัดการแข่งขัน คณะกรรมการจัดการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก โตเกียว 2020 และโตโยต้าได้ร่วมกันพัฒนา “หุ่นยนต์มาสคอต” ขึ้น
  • นอกเหนือจากหน้าที่ในการต้อนรับนักกีฬาและแขกรับเชิญตามสถานที่จัดงานต่างๆ ที่เป็นทางการแล้ว โตโยต้ากำลังพิจารณานำหุ่นยนต์มาส
    คอตมาใช้ในกีฬาโอลิมปิกเพื่อสร้างความบันเทิงให้กับเด็กๆ ด้วย
  • หุ่นยนต์มาสคอตจะแสดงออกโดยการใช้แขน ผ่านทางการควบคุมของหุ่นยนต์อีกตัวที่อยู่ห่างออกไป รวมทั้งมีการป้อนแรงกลับจากการมีปฏิสัมพันธ์โต้ตอบกันอีกด้วย
  • กล้องที่ติดตั้งไว้บนหัวของหุ่นยนต์ ช่วยให้หุ่นยนต์สามารถจดจำผู้คนที่อยู่รอบตัวได้ และเมื่อจดจำได้แล้ว หุ่นยนต์ก็จะสามารถแสดงอารมณ์ผ่านสีหน้าและสายตาได้อย่างหลากหลาย
  • ตัวหุ่นยนต์ประกอบด้วยข้อต่อขนาดเล็กทั่วทั้งตัว ส่งผลให้หุ่นยนต์มีความยืดหยุ่นในขณะที่ถูกควบคุม นอกจากนี้ ผู้ใช้งานยังสามารถควบคุม
    หุ่นยนต์ได้อย่างปลอดภัยไร้กังวล พร้อมสะดวกสบายด้วยฟังก์ชั่นการทำงานที่มีประสิทธิภาพสูง

T-HR3 (หุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์)

หุ่นยนต์โตโยตาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ในปี 2020
โตโยต้าจะอำนวยความสะดวกให้กับแขกผู้เข้าร่วมงานที่อยู่ในพื้นที่ที่ห่างออกไปและไม่สามารถเดินทางมาพบปะพูดคุยมีปฏิสัมพันธ์กับนักกีฬาได้โดยอาศัยหุ่นยนต์ T-HR3 และหุ่นยนต์มาสคอตมาเป็นตัวช่วย
  • ทั้งนี้ หุ่นยนต์ T-HR3 ที่ประจำอยู่ในพื้นที่จัดงานจะรับสัญญาณการแสดงท่าทางการเคลื่อนไหวจากหุ่นยนต์มาสคอตที่อยู่ในพื้นที่ห่างออกไปในระยะเวลาที่แทบจะเรียกได้ว่าเรียลไทม์ รวมทั้งมีการแสดงภาพและเสียงจากพื้นที่ห่างไกลด้วย นอกจากนี้ ผู้ใช้งานหุ่นยนต์จะสามารถพูดคุยและแปะมือกับนักกีฬาได้ผ่านทางกลไกการเคลื่อนไหวและระบบป้อนแรงกลับ เสมือนกับว่าพวกเขาได้อยู่กับนักกีฬาจริงๆ

T-TR1 (หุ่นยนต์สื่อสารระยะทางไกล)

หุ่นยนต์โตโยตาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ในปี 2020
T-TR1 เป็นระบบหุ่นยนต์เสมือนจากระยะไกล ซึ่งพัฒนาโดยศูนย์วิจัยโตโยต้าในสหรัฐอเมริกา ตัวหุ่นยนต์ได้รับการติดตั้งกล้องขนาดใหญ่ บนหน้าจอขนาดใหญ่เท่ากับขนาดของมนุษย์
  • ตัวหุ่นยนต์จะฉายภาพของผู้ใช้งานที่อยู่ในจุดที่ห่างออกไปเสมือนว่าผู้ใช้งานคนนั้นอยู่ในสถานที่ที่หุ่นยนต์ตั้งอยู่จริงๆ เช่น อยู่ในสนามที่จัดการแข่งขันกีฬา
  • ด้วยความสามารถของหุ่น T-TR1 โตโยต้าจะเปิดโอกาสให้ผู้คนที่ไม่สามารถเข้าร่วมงานการจัดการแข่งขันได้ด้วยตัวเองให้ได้มีโอกาสในการเข้าร่วมงานได้แบบเสมือนจริง อีกทั้งยังสามารถพูดคุยโต้ตอบกันกับคนที่อยู่ในบริเวณงานผ่านทางหน้าจอขนาดใหญ่ได้อีกด้วย

HSR: Human Support Robot (หุ่นยนต์สนับสนุนมนุษย์) / DSR: Delivery Support Robot (หุ่นยนต์สนับสนุนการขนส่ง)

หุ่นยนต์โตโยตาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ในปี 2020
ในส่วนของที่นั่งสำหรับเก้าอี้รถเข็นในสนามกีฬาโอลิมปิกนั้น หุ่นยนต์สนับสนุนมนุษย์ (Human Support Robot หรือเรียกสั้นๆ ว่า HSR) ของโตโยต้าจะช่วยนำทางผู้ที่ต้องใช้งานรถเข็นไปยังที่นั่ง พร้อมส่งอาหารว่าง สินค้าต่างๆ ฯลฯ ไปให้ผู้เข้าร่วมงานเหล่านั้น เพื่อให้พวกเขาสามารถดื่มด่ำกับการแข่งขันกีฬาได้อย่างเต็มที่
  • นอกจากนี้ หุ่นยนต์สนับสนุนการขนส่ง (Toyota Deliver Support Robot หรือ DSR) ที่โตโยต้าพัฒนาขึ้นมาเป็นพิเศษสำหรับการแข่งขันในครั้งนี้ จะทำหน้าที่ส่งอาหารและเครื่องดื่ม ตลอดจนสินค้าอื่นๆ ให้กับผู้ชมเมื่อมีการสั่งซื้อล่วงหน้าจากแท็บเล็ตตามที่กำหนดไว้
  • ที่สนามแข่งและสถานที่จัดงานที่มีที่นั่งอยู่ประมาณ 500 ที่นั่งสำหรับกีฬาโอลิมปิก และอีก 500 ที่นั่งสำหรับพาราลิมปิก ดังนั้น หุ่นยนต์นี้จะต้องรองรับความต้องการของผู้ชมที่ต้องใช้งานรถเข็นประมาณ 1,000 คน (ในแต่ละส่วนคาดว่าจะมี 16 แถว แถวละ 32 ที่นั่ง)

FSR: Field Support Robot (หุ่นยนต์สนับสนุนการปฏิบัติงานภาคสนาม)

หุ่นยนต์โตโยตาการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกและพาราลิมปิก ณ กรุงโตเกียว ในปี 2020

เป็นหุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อการใช้งานพิเศษโดยมีการเคลื่อนไหวอย่างอิสระ เพื่อใช้สนับสนุนการปฏิบัติงานในการแข่งขันบางรายการที่มีการขว้างปา (เช่น การพุ่งหลาว) ภายในสนามกีฬาโอลิมปิก

  • ในขณะที่หุ่นยนต์คำนวณเส้นทางที่มีประสิทธิภาพที่สุด ตัวหุ่นเองก็จะเคลี่อนไหวตามเจ้าหน้าที่ตามเส้นทางที่หลบเลี่ยงสิ่งกีดขวางในขณะที่เก็บ และขนส่งอุปกรณ์ที่ใช้ขว้างปา
    การใช้หุ่นยนต์สนับสนุนการปฏิบัติงานภาคสนามมีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยลดระยะเวลาในการจัดเก็บอุปกรณ์ที่ใช้ในการขว้างปา รวมทั้งประหยัดแรงงานอีกด้วย

ตารางราคารถยนต์ล่าสุด

AUDI | Aston Martin | BMW | Chevrolet | CITROEN |  DFSKFerrari | Honda (ฮอนด้า) |